7-15000-005-17 ยอ

ทะเบียนพันธุ์ไม้

ยอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม

สารอาหารและสารเคมีในผลยอ
ใบอ่อนนำมาลวกกินกับน้ำพริก แกงจืด แกงอ่อม หรือใช้รองกระทงห่อหมก ผัดไฟแดง ลูกยอสุกกินกับเกลือหรือกะปิ ลูกห่ามใช้ตำส้มตำ ปัจจุบันมีการนำลูกยอไปคั้นเป็นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ป้องกันโรคภูมิแพ้

ลูกยอบดประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและเส้นใย มีธาตุอาหารที่พบในน้ำลูกยอเล็กน้อยในลูกยอบดมี วิตามินซี ไนอะซิน (วิตามิน B3), เหล็ก และ โพแทสเซียม วิตามินเอ, แคลเซียม และ โซเดียม เมื่อคั้นเป็นน้ำจะเหลือแต่วิตามินซี ในปริมาณครึ่งหนึ่งของส้มดิบแต่มีโซเดียมสูงกว่าลูกยอมีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ แม้จะมีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเหล่านี้ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการสรุปถึงประโยชน์ต่อมนุษย์

การใช้ประโยชน์
ใบสดใช้สระผม กำจัดเหา ผลยอแก่มี asperuloside แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และแอนโทรควิโนน ช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในโพลีเนเซีย ใช้ผลอ่อน ใบและรากใช้รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ความระคายเคืองในทางเดินอาหาร เบาหวาน โรคเกี่ยวกับตับ และการติดเชื้อในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย ใช้น้ำคั้นจากผลรักษาดีซ่าน

รากใช้ย้อมสีให้สีแดงหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกให้สีแดง เนื้อในเปลือกสีเหลืองใช้ย้อมสีผ้าบาติก ในฮาวาย สกัดสีเหลืองจากรากยอใช้ย้อมผ้า มีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดยอซึ่งมีกรดลิโนเลอิกมาก ใช้ทาลดการอักเสบและลดการเกิดสิวลูกยอสุก รับประทานโดยนำมาจิ้มกับพริกกับเกลือหรือเอามาสับเอาแต่เนื้อกวนกับน้ำตาล ใบยอใช้รองห่อหมก แกงอ่อมใบยอ แกงเผ็ดปลาขมิ้นใบยอ ผักลวกจิ้มน้ำพริก

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น